สมองของเนย์มาร์แตกต่างจากนักกีฬาคนอื่นอย่างไร Efficient foot motor control by Neymar?s brain

  • 14/06/2564 11:32
  • 874

Sport Science Weekly #3/2021 : Sport Science Friday

#สมองของเนย์มาร์แตกต่างจากนักกีฬาคนอื่นอย่างไร
Efficient foot motor control by Neymar’s brain

สิ่งสำคัญที่บ่งชี้ถึงคุณลักษณะที่แตกต่างระหว่างนักกีฬาฟุตบอลระดับโลก กับ ระดับทั่วไปอย่างชัดเจน คือ ทักษะ เทคนิค จิตใจ สมรรถภาพทางกาย ปัจจัยทางด้านสรีรวิทยาต่าง ๆ รวมไปถึง กลไกการทำงานของสมอง

ในปี ค.ศ. 2014 นักวิทยาศาสตร์การกีฬาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับอนุมัติจริยธรรมการวิจัยจากโรงพยาบาล ALOMAR ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเมือง Barcelona ประเทศ สเปน ที่เราทราบกันดีว่าที่มีสโมสรฟุตบอลชื่อดังระดับโลก ให้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของสมองในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกลไกการเคลื่อนไหวของเท้า (motor-cortical foot regions) ในนักกีฬาอาชีพและนักกีฬาทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจในที่สุดในงานนี้ คือ ผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย เป็นนักกีฬาฟุตบอลชื่อก้องโลก ที่มีชื่อว่า Neymar da Silva Santos Júnior หรือ เรียกสั้นๆ ว่า เนย์มาร์ สตาร์จากประเทศบราซิล ที่ตอนนั้น มีอายุ 22 ปี และยังเป็นนักเตะในสังกัดสโมสรบาร์เซโลนา
#วิธีการวิจัย
ใช้การสแกนสมองแบบละเอียดด้วยเครื่อง 3-tesla fMRI (Functional magnetic resonance imaging) ที่เป็นการตรวจเพื่อหาตําแหน่งการทํางานของสมอง (brain activity) ในระหว่างที่นักกีฬาทุกคนหมุนข้อเท้าขวา และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และเปรียบเทียบระหว่าง เนย์มาร์ กับ นักฟุตบอลอาชีพที่มีอายุใกล้เคียงกัน 3 คน นักกีฬาว่ายน้ำระดับชั้นนำ 2 คน

#ทำไมต้องเป็นนักฟุตบอลและว่ายน้ำ
เพราะธรรมชาติของการฝึกซ้อมฟุตบอลกับว่ายน้ำในระยะยาว จะต้องใช้การเคลื่อนไหวของเท้าและข้อต่อข้อเท้าที่ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่ควบคุมกลไกการเคลื่อนไหวของเท้า (motor-cortical foot regions) ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองกีฬาจะมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน ซึ่งนักฟุตบอลอาชีพจะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลายมากกว่า ขณะที่ว่ายน้ำจะมีน้อยกว่า ซึ่งทีมวิจัย คาดว่านักฟุตบอลอาชีพจะมีการทำงานของระบบประสาทสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าแบบปกติ #ที่น้อยกว่า นักว่ายน้ำและนักฟุตบอลสมัครเล่น เนื่องจากงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า นักเปียโนและนักดนตรีที่เล่นคีย์บอร์ดที่มีความสามารถระดับสูง จะมีประสาทสัมผัสและความรู้สึกที่มากกว่า และความหลากหลายของการเคลื่อนไหวทักษะกลไกของนิ้วและมือทำให้มีลดการระดมประสาทของในบริเวณสมองที่เกี่ยวข้องเมื่อเปรียบเทียบกับนักดนตรีสมัครเล่น (Jäncke et al., 2000; Kringsetal., 2000; Haslingeretal., 2004; Koenekeetal.,2004).

#สมมติฐาน
จากการศึกษาที่ผ่านมาข้างต้น คณะนักวิจัยทีมนี้ คาดว่า นักฟุตบอลชั้นเลิศ โดยเฉพาะ เนย์มาร์ จะเคลื่อนไหวข้อเท้า ในขณะที่มีการระดมประสาทสมองหรือการทำงานของสมองในสมองส่วนที่ เรียกว่า medial-wallmotor-cortical foot regions น้อยกว่านักว่ายน้ำและนักฟุตบอลทั่วไป

#ผลการศึกษา (ดังรูป)
พบว่า ขนาดและปริมาณในการทำงานของสมองบริเวณ medial-wallmotor-cortical foot regions ของ เนย์มาร์ มีน้อยกว่า นักฟุตบอลอาชีพและสมัครเล่น รวมถึง นักว่ายน้ำ

#สรุป
การศึกษานี้สอดคล้องกับงานก่อนหน้านี้ที่พบว่านักดนตรีอาชีพ ที่ต้องมีการฝึกซ้อมเป็นประจำและเป็นเวลานานมีการระดมหน่วยประสาทสั่งการของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของมือ ซึ่งน่าจะมาจากปัจจัยสำคัญ คือการฝึกซ้อมฟุตบอลหลายๆปี (Long term) ของเนย์มาร์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะ brain plastic และระบบประสาทส่วนกลาง และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของ ไซแนปส์ (Synapse)หรือ จุดประสานประสาทในบริเวณสมองดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า นักกีฬาที่มีลักษณะพิเศษ ความสามารถสูงและโดดเด่น จะมีการทำงานของสมองที่ควบคุมกลไกการเคลื่อนไหวของเท้า แตกต่างกับนักกีฬาที่มีความสามารถต่ำกว่า นอกจากกนี้ปัจจัยการฝึกซ้อมระยะยาวของกีฬาที่ต่างชนิดกันก็จะส่งผลทำให้การทำงานของสมองแตกต่างกันอีกด้วย

#Original_article : Naito, E., & Hirose, S. (2014). Efficient foot motor control by Neymar’s brain. Frontiers in human neuroscience, 8, 594. https://doi.org/10.3389/fnhum.2014.00594.

#สรุปและเรียบเรียง โดย
นายอัชรัฐ ยงทวี (PhD) นักพัฒนาการกีฬาชำนาญการพิเศษ
กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา