กระโดดเชือก : การพัฒนากลไกการประสานสัมพันธ์ของร่างกายและการทรงตัวของนักฟุตบอลเยาวชน

  • 22/06/2564 20:54
  • 816

Sport Science Weelkly #19/2021 : Monday Special Research

#กระโดดเชือก : การพัฒนากลไกการประสานสัมพันธ์ของร่างกายและการทรงตัวของนักฟุตบอลยุวชน

กีฬาฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีความหลากหลายของการเคลื่อนไหวและใช้ใช้ทักษะเฉพาะในระดับสูง จึงต้องอาศัยการมีประสิทธิภาพของร่างกายที่ประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี การฝึกเพื่อพัฒนาระดับสมรรถภาพร่างกายและกลไกการทำงานประสานสัมพันธ์ของร่างกายถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ทักษะเฉพาะกีฬาได้

Sport Science Weekly มีข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการฝึกกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาความสามารถของการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย การทรงตัวในนักฟตบอลระดับยุวชน

งานวิจัยนี้ จะให้นักฟุตบอลยุวชน จำนวน 12 คน (อายุเฉลี่ย ประมาณ 11 ปี) โดยมีประสบการณ์ในการฝึกซ้อมฟุตบอลมาแล้วประมาณ 4 ปี ทำการฝึกกระโดดเชือก 15 นาที จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ และอีก 12 คน เป็นกลุ่มควบคุม (ฝึกทักษะฟุตบอล)

ท่าฝึกกระโดดเชือก มีทั้งหมด 5 ท่า (ความเร็วในการกระโดด 120 ครั้งต่อนาที)

1. Basic bounce step

2. Double basic bounce step

3. Alternate foot step

4. Scissors step

5. Double under

หลังจากการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มนักฟุตบอลที่ได้รับการฝึกกระโดดเชือกมีประสิทธิภาพการประสานสัมพันธ์ของร่างกายดีขึ้น คือ ใช้เวลาน้อยลงจากการทดสอบ Harre circuit test (HCT) รวมทั้งสามารถพัฒนาประสิทธิภาพด้านการทรงตัวได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมจากการทดสอบ Lower Quarter Y balance test (YBT-LQ) ดังนั้น การกระโดดเชือกจึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและสามารถพัฒนาความสามารถทางด้านกลไกการประสานสัมพันธ์ของร่างกายและการทรงตัวในนักฟุตบอลระดับยุวชนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ผู้ฝึกสอนสามารถนำรูปแบบของการกระโดดเชือกไปประยุกต์ใช้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของนักฟุตบอลยุวชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

* ยืนบนไหล่ยักษ์ มักจะเห็นอะไรที่กว้างกว่า *

“..Knowledge is power. Knowledge shared is power multiplied...”

“...ความรู้ คือ พลัง แต่การแบ่งปันความรู้ คือ พลังที่ยิ่งใหญ่กว่า...”

#Original_Article

Trecroci, A., Cavaggioni, L., Caccia, R., & Alberti, G. (2015). Jump rope training: Balance and motor coordination in preadolescent soccer players. Journal of sports science & medicine, 14(4), 792.

#สรุปและเรียบเรียงโดย

นายอินทัช เลิศลักษณาพร เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การกีฬา

นายธิติวัฒน์ น้อยคำเมือง นักพัฒนาการกีฬาชำนาญการ

กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา